สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 18-24 เมษายน 2559

สับปะรด

ผลผลิต เพิ่มขึ้น

     ปริมาณผลผลิตสับปะรดที่ออกสู่ตลาดในเดือนเมษายน 2559 ประมาณ 0.201 ล้านตัน หรือร้อยละ 10.58 ของปริมาณผลผลิตรวม 1.898 ล้านตัน โดยเพิ่มขึ้นจาก 0.191 ล้านตัน ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 5.24 และเพิ่มขึ้นจาก 0.184 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 9.24

การส่งออก เพิ่มขึ้น
          ปี 2559 (เดือนกุมภาพันธ์) มีการส่งออกสับปะรดสดและผลิตภัณฑ์ปริมาณรวม 0.345 ล้านตันสด เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 0.285 ล้านตันสด ในปี 2558 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.05

ราคา สับปะรดโรงงาน ลดลง
สับปะรดบริโภค เพิ่มขึ้น

เนื่องจากพื้นที่ปลูกสับปะรดส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากภาวะภัยแล้ง ส่งผลให้ผลผลิตไม่ได้คุณภาพมาตรฐานของโรงงานแปรรูป ทำให้โรงงานแปรรูปปรับราคารับซื้อสับปะรดลดลง โดยราคาที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ มีดังนี้
     - สับปะรดโรงงานกิโลกรัมละ 9.24 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.31 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.75 และลดลงจากกิโลกรัมละ 9.62 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 3.95

     - สับปะรดบริโภคกิโลกรัมละ 12.55 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 12.51 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.32 และเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 11.62 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 8.00

ข่าวสัปดาห์ วันที่ 18-24 เม.ย. 2559

ไหม

     ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,550 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,575 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.59
     ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,225 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,244 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.53
    ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 963 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 975 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.23

 

18 - 24 เมษายน 2559

ยางพารา

1. สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาภายในประเทศ

     สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เผยตัวเลขส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปเดือนมีนาคม 2559 ส่งออกได้ลดลงจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 14.33 โดยช่วงเดือนมกราคม-มีนาคมส่งออกจำนวน 307,760 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2558 ร้อยละ 6.24 สำหรับยอดการผลิตรถยนต์เดือนมีนาคม 2559 มีจำนวน 192,811 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2558 ร้อยละ 8.19 เนื่องจากมีการผลิตรถยนต์นั่งและรถกระบะขนาด 1 ตัน เพื่อจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้น และมีการเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อชดเชยในช่วงวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ ขณะที่ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศเดือนมีนาคม 2559 มีจำนวน 72,404 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม 2558 ร้อยละ 2.3 เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง ราคาสินค้าเกษตรยังทรงตัวในระดับต่ำ ภาคเอกชนยังชะลอการลงทุน รวมทั้งสถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อ อย่างไรก็ตามยอดขายเพิ่มจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 26.8 ส่วนหนึ่งจากงานบางกอกอินเตอร์เนชั่นแนลมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 37 ส่งผลให้ยอดขายรถยนต์เดือนมกราคม-มีนาคม มีจำนวน 181,318 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 8.3 สำหรับกรณีเหตุแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นไม่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไทย 
     ราคายางปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยด้านปริมาณยางที่ออกสู่ตลาดมีน้อย และความต้องการซื้อของผู้ประกอบการในประเทศยังมีต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นในระยะนี้ไม่มีผลต่อการส่งออก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
     1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.87 บาท เพิ่มขึ้นจาก 49.70 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.17 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.35 
     2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.37 บาท เพิ่มขึ้นจาก 49.20 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.17 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.38
     3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.87 บาท เพิ่มขึ้นจาก 48.70 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.17 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.40
     4. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.29 บาท เพิ่มขึ้นจาก 22.80 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.49 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.15
     5. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.06 บาท ลดลงจาก 19.22 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.16 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.83
     6. น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.27 บาท เพิ่มขึ้นจาก 47.38 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.89 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.88 
     ในสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 4, ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 5 และยางแผ่นดิบคละ

ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2559

ณ ท่าเรือกรุงเทพ 
     1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.70 บาท เพิ่มขึ้นจาก 60.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.38 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.94 
     2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.53 บาท เพิ่มขึ้นจาก 59.18 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.38 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.01
     3. ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.70 บาท เพิ่มขึ้นจาก 51.13 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.58 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.04
     4. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.15 บาท เพิ่มขึ้นจาก 39.88 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.28 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.20
ท่าเรือสงขลา 
     1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.45 บาท เพิ่มขึ้นจาก 60.08 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.38 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.95 
     2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.30 บาท เพิ่มขึ้นจาก 58.93 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.38 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.03
     3. ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.45 บาท เพิ่มขึ้นจาก 50.88 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.58 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.06 
     4. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.90 บาท เพิ่มขึ้นจาก 39.63 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.28 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.22

2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ

     นายฮารูฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) กล่าวต่อรัฐสภาญี่ปุ่นว่า ระบบห่วงโซ่อุปทานทั่วประเทศญี่ปุ่นเริ่มได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวในจังหวัดคุมาโมโตะแล้ว และธนาคารกลางเปิดโอกาสสำหรับการใช้มาตรการกระตุ้นเพิ่มเติม โดยอาจจะเพิ่มวงเงินซื้อสินทรัพย์ หรือปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ติดลบอยู่แล้วลงไปอีก ขณะที่มีสัญญาณต่างๆ ที่บ่งชี้ถึงภาวะกดดันทางเศรษฐกิจ เช่น การที่บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ได้ปิดโรงงานประกอบรถยนต์ทั่วประเทศไป 26 แห่ง เนื่องจากปัญหาการผลิตของซัพพลายเออร์ รวมถึงการผลิตชิ้นส่วนประกอบที่โรงงานผลิตเครื่องยนต์สำหรับการขนส่งและสินค้าไอทีได้ถูกระงับไปชั่วคราว ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน
     สต๊อกยางจีน (ณ 15 เมษายน 2559) อยู่ที่ระดับ 290,888 ตัน เพิ่มขึ้น 2,941 ตัน หรือเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.02
     สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยสต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ สัปดาห์นี้ ที่ระดับ 538.6 ล้านบาร์เรล โดยเพิ่มขึ้นเพียง 2.1 ล้านบาร์เรล ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 2.5 ล้านบาร์เรล
ยางแผ่นรมควันชั้น 3
 
     ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 174.60 เซนต์สหรัฐฯ (60.62 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 169.94 เซนต์สหรัฐฯ (58.15 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 4.66 เซนต์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.74
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 188.30 เยน (59.64 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 187.12 เยน (59.18 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 1.18 เยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.63

ข่าวรายสัปดาห์ 18-24 เม.ย. 59

ถั่วเหลือง

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก. ละ 14.67 บาท ลดลงจาก กก.ละ 15.21 บาท ในสัปดาห์ ที่ผ่านมาร้อยละ 3.55

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
     ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 16.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
     ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 18.35 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ 
 
ถั่วเหลืองอาร์เจนตินามากกว่า 3 ล้านตันอาจเสียหาย
     ออยล์เวิร์ลรายงานว่า ผลผลิตถั่วเหลืองมากกว่า 3 ล้านตัน ของอาร์เจนตินาอาจจะเสียหายตามที่องค์การรับซื้อธัญพืชในโรซาริโอและบัวโนสไอเรสได้มีคำเตือนออกมา ปัจจุบันผลผลิตถั่วเหลืองของอาร์เจนตินาประมาณ 2-3 ล้านตัน มีความเสี่ยงที่จะสูญเสียจากน้ำท่วม อย่างไรก็ตาม การสูญเสียอาจจะมากกว่านี้ ถ้าเป็นไปตามที่พยากรณ์ปริมาณน้ำฝนจะอยู่ในระดับที่มากกว่าปกติ โดยน้ำฝนสร้างความเสียหายให้กับผลผลิตจากน้ำท่วมโดยตรงแล้ว ยังทำให้คุณภาพลดลง เช่น เมล็ดงอกในฝัก เป็นต้น

ราคาในตลาดต่างประเท(ตลาดชิคาโก)
     ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 983.07 เซนต์ ( 12.64 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 953.20 เซนต์ ( 12.34 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.13
     ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 305.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 10.69 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 292.90 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 10.32 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.36
     ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 34.46 เซนต์ ( 26.57 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 33.68 เซนต์ ( 26.14 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.32


หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน

 

ข่าวสัปดาห์ 18 - 24 เม.ย. 59
 
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

     ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.68 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.11 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
     ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.33 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.03 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.98 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.63
     ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ  

     กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2558/59 ว่ามี 970.80 ล้านตัน ลดลงจาก 980.29 ล้านตันในปี 2557/58 ร้อยละ 0.97 โดยสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อินเดีย แอฟริกาใต้ และเกาหลีใต้ มีความต้องการใช้ลดลง สำหรับการค้าของโลก มี 133.78 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 127.10 ล้านตัน ในปี 2557/58 ร้อยละ 5.26 โดยบราซิล อาร์เจนตินา รัสเซีย แคนาดา และเม็กซิโก ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น เม็กซิโก อียิปต์ เวียดนาม โคลัมเบีย ไต้หวัน มาเลเซีย และซาอุดิอาระเบีย มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น (ตารางแนบท้าย)
     ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2559 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 384.56 เซนต์ (5,322 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 368.92 เซนต์ (5,122 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.24 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 200.00 บาท

บัญชีสมดุลข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โลก

(คาดคะเนเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2559)

หน่วย : ล้านตัน

 

รายการ

ปี 2558/59

ปี 2557/58

ผลต่างร้อยละ

สต็อกต้นปี

207.58

175.03

18.60

ผลผลิต

972.13

1,012.84

-4.02

นำเข้า

133.78

127.10

5.26

ส่งออก

133.78

127.10

5.26

ใช้ในประเทศ

970.80

980.29

-0.97

สต็อกปลายปี

208.91

207.58

0.64

ที่มา : กระทรวงเกษตรสหรัฐ ฯ

18 - 24 เม.ย. 2559
สุกร

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

     สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะตลาดสุกรค่อนข้างคึกคัก เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดแทบทุกพื้นที่ทำให้สุกรเจริญเติบโตช้า ส่งผลให้ปริมาณสุกรออกสู่ตลาดเริ่มลดลง แนวโน้มคาดว่าราคาจะสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 66.64 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 65.58 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.62 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 65.78 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 60.99 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 69.31 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 64.26 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,300 บาท (บวกลบ 71 บาท) สูงขึ้นจากตัวละ 2,100 บาท (บวกลบ 67 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 9.52
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ  
     ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.76
 
ไก่เนื้อ
 

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
     สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเพิ่งผ่านเทศกาลสงกรานต์ทำให้ภาวะตลาดไก่เนื้อคึกคัก ประกอบกับสภาพอากาศที่เริ่มร้อนจัดแทบทุกพื้นที่ทำให้ไก่เนื้อเจริญเติบโตช้า ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดไม่มากนัก คาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 39.10 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.10 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.39 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 40.73 ภาคกลางกิโลกรัมละ 39.60 บาท ภาคใต้กิโลกรัมละ 40.69 บาท และภาคเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
     ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 53.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.77

 

ไข่ไก่

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

     สถานการณ์ไข่ไก่สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดใกล้เคียงและสอดรับกับความต้องการบริโภคที่ทรงตัว แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
     ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 287 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 303 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 281 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 281บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 304 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 25.00 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
าคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
     ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 283 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 293บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.41
ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
     ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 354 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 355 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.28 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 346 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 363บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 342 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 378 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
     ราคาขายส่งไข่เป็ดในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
  

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 103.86 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 104.44 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.56 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัม 110.21 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 103.99 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 100.20 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 100.00 บาท

กระบือ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 83.24 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 85.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.36 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.73 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 81.60 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา


ตารางราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี